วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คำสมาสเเละคำสนธิ

คำสมาสและคำสนธิ
คำสมาส
การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤต ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน
ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้
๑. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส ตัวอย่างคำสมาส
บาลี+บาลี อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ อัจฉริยบุคคล
สันสกฤต+สันสกฤต แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา ศิลปกรรม
บาลี+สันสกฤต, สันสกฤต+บาลี หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม สามัญศึกษา
๒. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น
วัฒน+ธรรม = วัฒนธรรม สาร+คดี = สารคดี
พิพิธ+ภัณฑ์ = พิพิธภัณฑ์ กาฬ+ปักษ์ = กาฬปักษ์
ทิพย+เนตร = ทิพยเนตร โลก+บาล = โลกบาล
เสรี+ภาพ = เสรีภาพ สังฆ+นายก = สังฆนายก
๓. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น
ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู-มิ-สาด
เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด
เศรษฐการ อ่านว่า เสด-ถะ-กาน
รัฐมนตรี อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี
เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา
๔. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น
ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) = หัตถกรรม (งานฝีมือ)
คุรุ (ครู) + ศาสตร์ (วิชา) = คุรุศาสตร์ (วิชาครู)
สุนทร (งาม ไพเราะ) + พจน์ (คำกล่าว)= สุนทรพจน์ (คำกล่าวที่ไพเราะ)
คำสนธิ
คำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน
ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
๑. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
วิทย+อาลัย = วิทยาลัย พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ
มหา+อรรณพ = มหรรณพ นาค+อินทร์ = นาคินทร์
มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์ พุทธ+โอวาท = พุทโธวาท
รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส ธนู+อาคม = ธันวาคม
๒. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น
รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ)
ทุสฺ + ชน = ทุรชน นิสฺ + ภย = นิรภัย
๓. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น
สํ + อุทัย = สมุทัย สํ + อาคม = สมาคม
สํ + ขาร = สังขาร สํ + คม = สังคม
สํ + หาร = สังหาร สํ + วร = สังวร
http://www.jd.in.th/e_learning/th33101/samart/pre_test/popquiz.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น