วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แนะนำตัว






เเนะนำตัวครับ


คระผู้จัดทำ




ด.ช. เบญจรงค์ บุญผ่อง ม. 1/1 23


ด.ช. ศุภกร ธีรทัตพงศ์ ม. 1/1 37


ด.ช. เพทาย ดำทะมิส ม.1/1 15


ด.ช. ธนภัทร ไลประเสริฐ ม.1/1 3




พวกเรามาจากโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย




วัตถุประสงคื คือ คณะผู้จัดทำอยากให้เด็กไทยใช้หลักภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเเละมีคุณภาพ


ชนิดของคำ

คำในภาษาไทยจำแนกได้ 7 ชนิดคือคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำบุรำบท คำสันธาน และคำอุทาน
คำนาม คือคำที่ใช้เรียนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เช่น ครู นักปลา ดินสอโต๊ะ บ้าน โรงเรียน แบ่ง 5 ชนิด ได้แก่1. สามานยนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อทั่ว ๆ ไป เช่นหนู ไก่ โต๊ะ บ้าน คน2. วิสามานนาม เป็นชื่อเฉพาะ เช่น นายทอง เจ้าดำ ชื่อวัน ชื่อเดือน ชื่อจังหวัด ชื่อประเทศ ชื่อแม่น้ำ ชื่อเกาะ3. สุหนาม นามที่เป็นหมู่คณะ เช่น ฝูง โขลง กลอง หรือคำที่มีความหมายไปในทางจำนวนมาก เช่น รัฐบาล องค์กร กรม บริษัท4. ลักษณนาม เป็นคำนามที่บอกลักษณะของนาม มักใช้หลังคำวิเศษที่บอกจำนวนนับ เช่น ภิกษุ 4 รูป นาฬิกา 4 เรือน5. อาการนาม คือ นามที่เป็นชื่อกริยาอาการในภาษามักใช้คำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า เช่น การนั่งการกิน ความดี ความจนคำนามที่อยู่ในประโยคจะทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นประธานและกริยาของประโยค เช่น
ประโยค ประธาน กริยา กรรมม้าวิ่ง ม้า วิ่ง -นักเรียนไปโรงเรียน นักเรียน ไป โรงเรียนแมวจับหนู แมว จับ หนูครูทำโทษสมชาย ครู ทำโทษ สมชาย
คำสรรพนาม
คำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม เช่น ผม ฉัน หนู เธอ คุณข้าพเจ้า เขา ท่าน มัน เป็นต้น แบ่งเป็น 6 ชนิดได้แก่1. บุรุษสรรพนาม คือคำนามที่ใช้แทนชื่อ เวลาพูดกันบุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้พูด เช่นผมฉัน ข้าพเจ้าบุรุษที่2 ใช้แทนผู้ฟัง เช่นคุณ เธอบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้กล่าวถึง เช่นเขา มัน2. ประพันธสรรพนาม คือคำสรรพนามที่ใช้แทน(เชื่อม)คำนามที่อยู่ข้างหน้า ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่นคนที่ออกกำลังกายเสมอร่างการมักแข็งแรงอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าภาพแข่งขันชกมวยกำลังมีชื่อเสียงทั่วโลกมีดอันที่อยู่ในครัวคมมาก3. นิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่กำหนดความให้รู้แน่นอนได้แก่ นี่ นั่น โน่น หรือ นี้ นั้น โน้น เช่นนี่เป็นเพื่อนของฉันนั่นอะไรน่ะโน่นของเธอของเธออยู่ที่นี่4. อนิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่แทนสิ่งที่ไม่ทราบ คือไม่ชี้เฉพาะลงไปและไม่ได้กล่าวในเชิงถาม หรือสงสัย ได้แก่ ใคร อะไร ไหน ใด เช่นใครขยันก็สอบไล่ได้เขาเป็นคนที่ไม่สนใจอะไร5. ปฤจฉสรรพนาม ได้แก่สรรพนามใช้เป็นคำถาม ได้แก่คำ อะไร ใคร ที่ไหน แห่งใด ฯลฯ เช่นใครอยู่ที่นั่นอะไรเสียหายบ้างไหนละโรงเรียนของเธอ6. วิภาคสรรพนาม หมายถึงคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้น จำแนกออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ ต่างบ้าง กัน เช่นนักเรียนต่างก็อ่านหนังสือเขาตีกันนักเรียนบ้างเรียนบ้างเล่น
คำกริยา
คำกริยา คือ คำแสดงอาการของนาม สรรพนาม แสดงการกระทำของประโยค เช่น เดิน วิ่ง เรียน อ่าน นั่ง เล่น เป็นต้น แบ่งเป็น 4 ชนิด1. สกรรมกริยา คือคำกริยาที่ต้องมีกรรมรับ เช่นฉันกินข้าวเขาเห็นนก2. อกรรกริยา คือคำกริยาที่ไม่ต้องมี่กรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เช่นเขานั่งเขายืน3. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ ได้แก่ เหมือน เป็น คล้าย เท่า คือ เช่นผมเป็นนักเรียนคนสองคนนี้เหมือนกันลูกคนนี้คล้ายพ่อส้ม 3 ผลใหญ่เท่ากันเขาคือครูของฉันเอง4. กริยานุเคราะห์ คือคำกริยามี่ไม่มีความหมายในตัวเอง ทำหน้าที่ช่วยกริยาให้มีความหมายชัดเจนขึ้นได้แก่คำ จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ ฯลฯ เช่นแดงจะไปโรงเรียนเขาถูกตีรีบไปเถอะ

คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น 10 ชนิดคือ1. ลักษณะวิเศษณ์ บอกลักษณะ เช่น สูง ใหญ่ ดำ อ้วน ผอม แคบ หวาน เค็ม กว้าง2. กาลวิเศษณ์ บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น ดึก เดี๋ยวนี้ โบราณ3. สถานวิเศษณ์ บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง4. ประมาณวิเศษณ์ บอกจำนวน เช่น หนึ่ง สอง น้อย มาก ทั้งหมด ทั้งปวง บรรดา5. นิยมวิเศษณ์ บอกความแน่นอน เช่น นี่ นี้ โน่น นั้น6. อนิยมวิเศษณ์ บอกความไม่แน่นอน เช่น กี่ อันใด ทำไม อะไร ใคร- กี่คนก็ได้- ใครทำก็ได้- เป็นอะไรก็เป็นกัน- คนอื่นไม่รู้ไม่เห็น
7. ปฤจฉาวิเศษณ์ บอกความเป็นคำถาม เช่น- แม่จะไปไหน- เธออายุเท่าไร- แกล้งเขาทำไม- ไยจึงไม่มา8. ประติชฌาวิเศษณ์ (บอกการตอบรับ) มีคำว่า คะ ครับ จ้ะ จ๋า ขา ฯลฯ9. ประติเศษวิเศษณ์ แสดงความปฏิเสธ เช่น ไม่ ไม่ใช่ หามิได้ บ่10. ประพันธวิเศษณ์ แสดงหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น ที่ ซึ่ง อัน- เขาพูดอย่างที่ใคร ๆ ไม่คาดคิด- เธอเดินไปหยิบหนังสือซึ่งอยู่บนโต๊ะ- ของมีจำนวนมากอันมิอาจนับได้
คำบุพบท
คำบุพบท คือคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ1. ไม่เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ คำทักทาย หรือร้องเรียน เช่น ดูกร ข้าแต่ อันว่า แน่ะ เฮ้ย2. เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ โดย ของ บน- พวกเราเดินทางโดยรถยนต์- ขนมเหล่านั้นเป็นของคุณแม่- นกเกาะอยู่บนต้นไม้- เขาเดินไปตามถนน- ฉันเขียนหนังสือด้วยปากกา- เขามาถึงตั้งแต่เช้า- ในหลวงทรงเป็นประมุขแห่งชาติ- เขาบ่นถึงเธอ- นักโทษถูกส่งไปยังเรือนจไ- ครูชนบทอยู่ไกลปืนเที่ยง- นักเรียนอ่านหนังสืออยู่ภายในห้องเรียน- ข้าวในนา ปลาในน้ำ- ประชาชนทุกคนอยู่ใต้กฎหมายของบ้านเมืองการใช้คำ กับ แก่ แด่ ต่อกับ ใช้กับการกระทำที่ร่วมกันกระทำ- เขากับเธอมาถึงโรงเรียนพร้อมกัน- พ่อกับลูกกำลังอ่านหนังสือแก่ ใช้นำหน้าผู้รับที่มีอายุน้อยกว่าผู้ให้ หรือเสมอกัน- คุณครูมอบรางวัลแก่นักเรียน- เขามอบของขวัญปีใหม่แก่เพื่อนแด่ ใช้นำหน้านามที่เป็นผู้รับที่มีอายุมากกว่า หรือกับบุคคลที่เคารพ- นักเรียนมอบของขวัญแด่อาจารย์ใหญ่- ฉันถวายอาหารแด่พระสงฆ์ต่อ ให้ในการติดต่อกับผู้รับต่อหน้า- จำเลยให้การต่อศาล- ประธานนักเรียนเสนอโครงการต่ออาจารย์ใหญ่- หาคนหวังดีต่อชาติ- ผู้แทนราษฎรแถลงนโยบายต่อประชาชาน
คำสันธานคำสันธาน คือคำเชื่อมคำ หรือประโยคเชื่อมประโยคให้ต่อเนื่องกัน มี 2 ลักษณะ คือ1. เชื่อมคำกับคำ เช่น พี่กับน้อง เขียนกับอ่าน ลูกและหลาน2. เชื่อมประโยคกับข้อความ หรือข้อความกับประโยค มี 4 ลักษณะคือก. คล้อยตามกัน เช่น พอล้างมือเสร็จก็ไปรับประทานอาหารข. ขัดแย้งกัน เช่น แม้เขาจะขยั้นแต่ก็เรียนไม่สำเร็จค. เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เธอจะอ่านหนังสือกรหรือจะเล่นง. เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น เพราะรถติดเขาจึงมาสาย
คำอุทาน
คำอุทาน คือคำที่เปล่งออกมาบอกอาการ หรือความรู้สึกของผู้พูดแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ1. อุทานบอกอาการ หรือบอกความรู้สึก จะใช้เครื่องหมาย อัศเจรีย์ ( ! )กำกับข้างหลัง เช่นอุ๊ย ! พุทโธ่ ! ว๊าย! โอ้โฮ! อนิจจา!2. อุทานเสริมบท เป็นคำพูดเสริมเพื่อให้เกิดเป็นคำที่สละสลวยขึ้น เช่น- รถรา- กระดูกกระเดี้ยว- วัดวาอาราม- หนังสือหนังหา- อาบน้ำอาบท่า- กับข้าวกับปลา
http://www.st.ac.th/bhatips/tiptest/test_7word1.html

กาพย์ยานี 11

กาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ยานี คือ กาพย์ ชนิดหนึ่ง มีคำ ๑๑ คำในหนึ่งบาท จึงเรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง ในหนังสือประเภทคำกาพย์ ร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือในหนังสือประเภทคำฉันท์ ร่วมกับกาพย์และฉันท์ชนิดอื่นๆ ในยุคปัจจุบัน นิยมแต่งกาพย์ยานีเป็นบทสั้นๆ โดยไม่ได้ร้อยกับฉันทลักษณ์ประเภทอื่นๆ
กาพย์ยานี มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของ ฉันทลักษณ์ ดังนี้คือ

ใน ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ
สัมผัสใน ๑ บท มี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค รวมเป็น ๔ วรรค
สัมผัสระหว่างวรรค มีสัมผัส ๑ คู่ คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง สัมผัสกับ คำที่สามของวรรคสอง
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สาม
คำสุดท้ายของวรรคที่สองบาทที่หนึ่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรค บาทที่สอง
สัมผัสระหว่างบท มี ๑ คู่ คือ
คำสุดท้ายของแต่ละบท สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทที่ตามมา แทนด้วยอักษร ง ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
ลักษณะอื่นๆ
กาพย์ยานีอาจมีความยาวร้อยต่อกันกี่บทก็ได้ ไม่จำกัด
บาทที่สองของแต่ละวรรค อาจไม่ต้องมีสัมผัส จากคำท้ายวรรคหน้า ไปยังคำที่สามของวรรคหลังก็ได้
การอ่านกาพย์ยานี
การอ่านทำนองเสนาะสำหรับกาพย์ยานี อาจอ่านได้หลายแบบ เช่น อ่านเป็นทำนองสวด เป็นต้น โดยนิยมอ่านเว้น 2,3 / 3,3


http://www.st.ac.th/bhatips/tiptest/test_gab11.html

คำสมาสเเละคำสนธิ

คำสมาสและคำสนธิ
คำสมาส
การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤต ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน
ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้
๑. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส ตัวอย่างคำสมาส
บาลี+บาลี อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ อัจฉริยบุคคล
สันสกฤต+สันสกฤต แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา ศิลปกรรม
บาลี+สันสกฤต, สันสกฤต+บาลี หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม สามัญศึกษา
๒. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น
วัฒน+ธรรม = วัฒนธรรม สาร+คดี = สารคดี
พิพิธ+ภัณฑ์ = พิพิธภัณฑ์ กาฬ+ปักษ์ = กาฬปักษ์
ทิพย+เนตร = ทิพยเนตร โลก+บาล = โลกบาล
เสรี+ภาพ = เสรีภาพ สังฆ+นายก = สังฆนายก
๓. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น
ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู-มิ-สาด
เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด
เศรษฐการ อ่านว่า เสด-ถะ-กาน
รัฐมนตรี อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี
เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา
๔. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น
ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) = หัตถกรรม (งานฝีมือ)
คุรุ (ครู) + ศาสตร์ (วิชา) = คุรุศาสตร์ (วิชาครู)
สุนทร (งาม ไพเราะ) + พจน์ (คำกล่าว)= สุนทรพจน์ (คำกล่าวที่ไพเราะ)
คำสนธิ
คำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน
ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
๑. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
วิทย+อาลัย = วิทยาลัย พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ
มหา+อรรณพ = มหรรณพ นาค+อินทร์ = นาคินทร์
มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์ พุทธ+โอวาท = พุทโธวาท
รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส ธนู+อาคม = ธันวาคม
๒. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น
รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ)
ทุสฺ + ชน = ทุรชน นิสฺ + ภย = นิรภัย
๓. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น
สํ + อุทัย = สมุทัย สํ + อาคม = สมาคม
สํ + ขาร = สังขาร สํ + คม = สังคม
สํ + หาร = สังหาร สํ + วร = สังวร
http://www.jd.in.th/e_learning/th33101/samart/pre_test/popquiz.htm

กาพย์ฉบัง16

กาพย์ฉบัง

กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง จำพวกกาพย์ มักจะเขียนรวมอยู่ในหนังสือประเภทคำฉันท์ หรือคำกาพย์ มีลักษณะสั้น กระชับ จึงมักจะใช้บรรยายความที่มีการเคลื่อนไหว กระชับ ฉับไว แต่ก็มีบ้าง ที่ใช้กาพย์ฉบับบรรยายถึงความงดงาม นุ่มนวลก็มี
กาพย์ฉบัง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์ฉบัง 16 เนื่องจากมีจำนวนคำ 16 คำ ในหนึ่งบท บ้างก็เรียกว่า กาพย์ 16 เฉยๆ ก็มี
กาพย์ฉบัง
บทหนึ่ง มีบาทเดียว บาทหนึ่งมี 3 วรรค คือ
วรรคต้น จาน(รับ) มี 6 คำ
วรรคกลางตาย (รอง) มี 4 คำ
วรรคตาย (ส่ง) มี 6 คำ
บทหนึ่งจึงมีทั้งหมด 16
สัมผัส
กาพย์ฉบังมีลักษณะสัมผัสคล้ายกับ
กาพย์ยานี เพียงแต่มี 3 วรรค การรับส่งสัมผัส เป็นดังนี้
คำท้ายวรรคต้น สัมผัสคำท้ายวรรคกลาง แทนด้วยอักษร ก ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
คำท้ายของวรรคกลาง อาจส่งสัมผัสไปยังคำแรกหรือคำที่สอง ของวรรคท้ายก็ได้ แทนด้วยอักษร ก และ ข ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
คำท้ายวรรคท้าย ส่งสัมผัสไปยังทำท้ายวรรคต้น ของบทต่อไป แทนด้วยอักษร ค


http://www.st.ac.th/bhatips/tiptest/test_gab16_1.html

เสียงในภาษา

ระบบเสียงในภาษาไทย
เสียงสระ
ลักษณะและหน้าที่ของเสียงแท้ หรือเสียงสระ
๑. เป็นเสียงที่ลมผ่านออกมาได้โดยสะดวกไม่ถูกอวัยวะในปากกักทางลม
๒. อวัยวะที่ช่วยให้เสียงสระต่างกัน ได้แก่ลิ้น และริมฝีปาก
๓. เสียงสระออกเสียงได้ยาวนาน
๔. เสียงสระมีทั้งเสียงสั้น และเสียงยาว
๕. เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ เพราะเสียงพยัญชนะต้องอาศัยเสียงสระเกาะเสมอ จึงออกเสียงได้
สระ มี ๓๒ รูป ๒๑ เสียง แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. สระเดี่ยว หรือ สระแท้
๑.๑ สระแท้ฐานเดียว ได้แก่ สระแท้ที่มีเสียงเปล่งออกมากระทบฐานใดฐานหนึ่งในปากเพียงฐานเดียว มี ๘ เสียง คือ

สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
ลมกระทบฐาน
อะ
อา
คอ
อิ
อี
เพดาน
อึ
อื
ปุ่มเหงือกหรือฟัน
อุ
อู
ริมฝีปาก

๑.๒ สระแท้สองฐาน ได้แก่ สระแท้ที่เสียงเปล่งออกมากระทบสองฐานพร้อมกันมี ๑๐ เสียง คือ

สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
ลมกระทบฐาน
เอะ
เอ
คอกับเพดาน
แอะ
แอ
คอกับเพดาน
โอะ
โอ
คอกับริมฝีปาก
เอาะ
ออ
คอกับริมฝีปาก
เออะ
เออ
คอกับปุ่มเหงือกหรือฟัน

๒. สระประสม หรือสระเลื่อน คือการประสมเสียงสระแท้ ๒ เสียงเข้าด้วยกัน มี ๖ เสียง คือ
สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
เอียะ (อิ+อะ)
เอีย (อี+อา)
เอือะ (อึ+อะ)
เอือ (อื+อา)
อัวะ (อุ+อะ)
อัว (อู+อา)
ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์ ถือว่าสระประสมมีเพียง ๓ หน่วย คือ เอีย เอือ อัว เพราะไม่มีคู่เทียบเสียงระหว่างเสียงสั้นและเสียงยาว แต่แบ่งหน่วยเสียงย่อย คือ เสียงย่อยสั้น และเสียงย่อยยาว เนื่องจาก สระเอียะ ที่ไม่มีตัวสะกด ที่พบในภาษาไทย มีเพียงคำว่า เดียะ เพียะ เปี๊ยะ (พิณ) เผียะ สระอัวะ ที่ไม่มีตัวสะกด ในคำว่า ผัวะ พัวะ สระเอือที่ไม่มีตัวสะกด ไม่มีที่ใช้ ดังนั้น สระประสมเสียงสั้น ส่วนใหญ่ก็อาศัยรูป เอีย เอือ อัว เช่น เรียก เสือก พวก ใช้รูปสระเสียงยาว แต่ออกเสียงสั้นเป็น เอียะ เอือะ อัวะ
๓. สระเกิน ได้แก่ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระแท้แต่มีเสียงพยัญชนะผสมอยู่ด้วยมี ๘ เสียง คือ
สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
อำ (อะ+ม)
-
ใอ (อะ+ย)
-
ไอ (อะ+ย)
-
เอา (อะ+ว)
-
ฤ (ร+อึ)
ฤา (ร+อือ)
ฦ (ล+อึ)
ฦา (ล+อื)
ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์ ไม่นับสะเกินเป็นเสียงสระ เพราะมีเสียงพยัญชนะผสมอยู่ คือ อำ มีตัว ม, ใอ มีตัว ย, ไอ มีตัว ย , เอา มีตัว ว , ฤ ฤา มีตัว ร , ฦ ฦา มีตัว ล
เสียงพยัญชนะ
ลักษณะและหน้าที่ของเสียงแปร หรือเสียงพยัญชนะ
๑. เป็นเสียงที่เกิดจากลม บริเวณเส้นเสียง ผ่านมาทางช่องระหว่างเส้นเสียง แล้วกระทบอวัยวะต่างๆ ในช่องปาก ที่เรียกว่าฐานกรณ์ เช่น ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟันกับปุ่มเหงือก
๒. พยัญชนะไม่สามารถออกเสียงตามลำพังได้ ต้องอาศัยเสียงสระช่วย จึงจะสามารถออกเสียงได้ เช่น ใช้ สระออ ออกเสียง กอ ขอ คอ งอ
๓. เสียงพยัญชนะสามารถปรากฏที่ต้นคำ โดยนำหน้าเสียงสระ เรียกว่า พยัญชนะต้น และปรากฏหลังคำ โดยอยู่หลังเสียงสระ เรียกว่าพยัญชนะสะกด
เสียงพยัญชนะต้น

พยัญชนะต้นแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. พยัญชนะเดี่ยวมี ๔๔ รูป แบ่งตามฐานกำเนิดเสียง ดังนี้
เกิดฐานคอ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง ห อ ฮ
เกิดฐานเพดาน จ ฉ ช ซ ฌ ญ ย
เกิดฐานปุ่มเหงือก ด ต ถ ท ธ น ล ส
เกิดฐานริมฝีปาก บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ว
๒. พยัญชนะประสม คือพยัญชนะ ๒ ตัวที่ประสมกับสระตัวเดียวกันแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
๒.๑ อักษรควบ คือพยัญชนะซึ่งควบกับ ร ล ว และประสมสระเดียวกันแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
๒.๑.๑ อักษรควบแท้ คือ อักษรควบซึ่งออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ากับพยัญชนะตัวหลัง ควบ
กล้ำพร้อมกันสนิทจนเกืบเป็นสียงเดียวกัน มีทั้งสิ้น ๑๕ รูป ได้แก่ กร กล กว คร ขร คล ขล คว ขว ตร ปร ปล พร พล ผล
หมายเหตุ ทร ที่ใช้เป็นตัวควบ ในภาษาไทยแท้ จะเป็นอักษรควบไม่แท้ ส่วนคำที่ออกเสียงควบแท้มักมาจากภาษาสันสกฤต เช่น อินทรา จันทรา
อนึ่ง ตัวอักษรควบแท้ที่ไทยไม่มีใช้ แต่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอังกฤษ และนำมาใช้มี ๖ เสียง คือ
บร เช่น เบรก บรั่นดี บรอนซ์
บล เช่น เบลม บลู บล็อก
ดร เช่น ดรัมเมเยอร์ ดรีม ดราฟต์
ฟร เช่น ฟรายด์ ฟรี ฟรักโทส
ฟล เช่น ฟลูออรีน แฟลต ฟลุก ฟลุต
ทร เช่น แทร็กเตอร์ ทรัมเป็ต


๒.๑.๒ อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
๒.๒ อักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมเดียวกันเช่นเดียวกับอักษรควบกล้ำ แต่ต่างกัน ตรงที่วิธีการออกเสียง อักษรนำมีวิธีการออกเสียงดังนี้
๒.๒.๑ ไม่ออกเสียงตัวนำ ออกเสียงกลืนกับเสียงตัวนำ ได้แก่
อ นำ ย มีอยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว ได้แก่ ง ญ น ม ย ร ล ว จะออกเสียงเพียงพยางค์เดียวสูงตามเสียง ห เช่น หงาย หงอน หญ้า ใหญ่ หน้า หนู หมา หย่า แหย่ หรูหรา หรอก ไหล หลาน หวาน แหวน
๒.๒.๒ ออกเสียงตัวนำ ได้แก่
ก. อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว จะออกเสียงพยางค์ต้นเป็น สระอะ ครึ่งเสียง ออกเสียงพยางค์หลังตามที่ประสมอยู่ ออกเสียงวรรณยุกต์ผันตามตัวหน้า เช่น ขนม ขนง เขนย ขนำ สมอง สมาน สนอง สยาย ขยับ ขยัน ฝรั่ง ถลอก เถลิง ผวา ผยอง ถนน สนน สนิท
* ยกเว้น ขมา ขโมย ขมำ สมา สมาคม สมิทธิ สโมสร สลัม ไม่ออกเสียงตามตัวนำ
ข. อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว ออกเสียงเช่นเดียวกับข้อ ก เช่น ตนุ โตนด จมูก ตลาด ตลก ตลอด จรวด ปรอท
ค. อักษรสูงนำอักษรต่ำคู่ หรืออักษรกลาง ออกเสียงตามข้อ ก แต่ไม่ต้องผันวรรณยุกต์ตามอักษรนำ เช่น ไผท ผดุง เผด็จ ผกา เถกิง ผกา เผอิญ เผชิญ เผชิญ
ข้อสังเกต
๑. เสียง /ร/ ไม่เหมือน เสียง เสียง /ล/
๒. ๑ เสียง มีหลายรูป ได้แก่
เสียง /ค/ แทน ข ฃ ค ฅ ฆ
เสียง /ช/ แทน ช ฉ
เสียง /ซ/ แทน ซ ส ศ ษ
เสียง /ด/ แทน ด ฎ
เสียง /ต/ แทน ต ฏ
เสียง /ท/ แทน ท ธ
เสียง /น/ แทน น ณ
เสียง /พ/ แทน พ ภ
เสียง /ฟ/ แทน ฝ ฟ
เสียง /ย/ แทน ย ญ
เสียง /ฮ/ แทน ห ฮ
๓. เสียง/ฤ/ ออกเสียง/ร/
๔. ฑ ออกเสียงได้ 2 เสียง คือ /ด/ /ท/


เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์
ภาษาไทยมีตัวสะกด 9 มาตรา คือ กก กด กบ กม กน เกย เกอว ก. กา
เมื่อเขียนเสียงแทนแม่ตัวสะกดแต่ละมาตรา จะได้
กก = /ก/ กม = /ม/ เกย = /ย/ กบ = /บ/
กด = /ด/ กน = /น/ กง = /ง/ เกอว = /ว/
ข้อสังเกต อำ ไอ เอา มีเสียงตัวสะกดด้วย

เสียงวรรณยุกต์
ลักษณะของเสียงดนตรี หรือเสียงวรรณยุกต์
๑. เป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูงต่ำ เหมือนเสียงดนตรี
๒. เสียงวรรณยุกต์ ทำให้คำมีความหมายแตกต่างกันไป เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ
๓. เสียงวรรณยุกต์มี ๔ รูป คือ
รูปของวรรณยุกต์

ไม้เอก
ไม้โท
ไม้ตรี
ไม้จัตวา
และมี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา

อักษร ๓ หมู่ (ไตรยางค์)
เสียง สามัญ
เสียง
เอก
เสียง
โท
เสียง
ตรี
เสียงจัตวา
หมายเหตุ
อักษรกลาง (๙ ตัว)ก จ ด ฎ ต ฏ บ ป อ คำเป็นคำตาย
ปา
ป่ากัด
ป้ากั้ด
ป๊ากั๊ด
ป๋ากั๋ด
คำเป็นพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก
อักษรสูง (๑๑ ตัว)ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส หคำเป็นคำตาย
--
ข่าขะ
ข้าข้ะ
--
ขา-
คำเป็นพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวาคำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก
อักษรต่ำ(อักษรที่เหลือ ๒๔ ตัว)
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ คำเป็น คำตายเสียงสั้นคำตายเสียงยาว
คา--
---

ค่าค่ะ
คาด

ค้าคะ
ค้าด

-ค๋ะ
ค๋าด
คำเป็นพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ หากผันร่วมกับอักษรสูงจะผันได้ครบ ๕ เสียง เช่นคา ข่า ค่า(ข้า) ค้า ขา

http://www.st.ac.th/bhatips/gramma1.htm

ประโยค

ชนิดและหน้าที่ของประโยค
ความหมายและส่วนประกอบของประโยค ความหมายของประโยค ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น ส่วนประกอบของประโยค ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้
1. ภาคประธาน ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้ อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น 2. ภาคแสดง ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ ชนิดของประโยค ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้
1. ประโยคความเดียว ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
2. ประโยคความรวม ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ ตัวอย่าง • ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์ • ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม • ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา • พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย สันธานที่ใช้ใน 4 ประโยค ได้แก่ และ, ทั้ง – และ, แล้วก็, พอ – แล้วก็ หมายเหตุ : คำ “แล้ว” เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง
2.2 ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง • พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน • ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ
2.3 ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง • ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง • คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล
2.4 ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล ตัวอย่าง • เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ • คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ ข้อสังเกต • สันธานเป็นคำเชื่อมที่จ้ำเป็นต้องมีประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด • สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น – จึง, ทั้ง – และ, แต่ – ก็ สันธานชนิดนี้เรียกว่า “สันธานคาบ” มักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี • ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้
3. ประโยคความซ้อน ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้
3.1 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อม
ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม • คนทำดีย่อมได้รับผลดี คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน • ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม
3.2 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย • คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิต ที่ประพฤติ ขยายประธาน คน - คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก - (คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย • ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน - ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก - (บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย
3.3 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยายวิเศษณ์ • เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน เขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก (เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา • ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก ครูรักศิษย์ : ประโยคหลัก แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน)
หน้าที่ของประโยค
ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานทำกริยา อะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ เช่น - ฉันไปพบเขามาแล้ว - เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ
2. ปฏิเสธ เป็นประโยคมีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ มิใช่ ใช่ว่า ประกอบอยู่ด้วยเช่น - เรา ไม่ได้ ส่งข่าวถึงกันนานแล้ว - นั่น มิใช่ ความผิดของเธอ
3. ถามให้ตอบ เป็นประโยคมีเนื้อความเป็นคำถาม จะมีคำว่า หรือ ไหม หรือไม่ ทำไม เมื่อไร ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร อยู่หน้าประโยคหรือท้ายประโยค เช่น - เมื่อคืนคุณไป ที่ไหน มา - เธอเห็นปากกาของฉัน ไหม
4. บังคับ ขอร้อง และชักชวน เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ ขอร้อง และชักชวน โดยมีคำอนุภาค หรือ คำเสริมบอกเนื้อความของประโยค เช่น - ห้าม เดินลัดสนาม - กรุณา พูดเบา
สรุป
การเรียบเรียงถ้อยคำเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน สามารถขยายให้เป็นประโยคยาวขึ้นได้ด้วยการใช้คำ กลุ่มคำ หรือประโยค เป็นส่วนขยาย ยิ่งประโยคมีส่วนขยายหรือองค์ประกอบมากส่วนเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจต่อกันมากขึ้นเพียงนั้น ข้อสำคัญ คือ ต้องเข้าใจรูปแบบประโยค การใช้คำเชื่อมและคำขยาย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเจตนาในการส่งสารด้วย ผู้มีทักษะในการเรียบเรียงประโยคสามารถพัฒนาไปสู่การเขียน เล่า บอกเรื่องราวที่ยืดยาวได้ตามเจตนาของการสื่อสาร ดังนั้นผู้ใช้ภาษาจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างประโยค และวิธีการสร้างประโยคให้แจ่มแจ้งชัดเสียก่อนจะทำให้การสื่อสารเกิดประสิทธิผล และสามารถใช้ภาษาสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น