วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เสียงในภาษา

ระบบเสียงในภาษาไทย
เสียงสระ
ลักษณะและหน้าที่ของเสียงแท้ หรือเสียงสระ
๑. เป็นเสียงที่ลมผ่านออกมาได้โดยสะดวกไม่ถูกอวัยวะในปากกักทางลม
๒. อวัยวะที่ช่วยให้เสียงสระต่างกัน ได้แก่ลิ้น และริมฝีปาก
๓. เสียงสระออกเสียงได้ยาวนาน
๔. เสียงสระมีทั้งเสียงสั้น และเสียงยาว
๕. เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ เพราะเสียงพยัญชนะต้องอาศัยเสียงสระเกาะเสมอ จึงออกเสียงได้
สระ มี ๓๒ รูป ๒๑ เสียง แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. สระเดี่ยว หรือ สระแท้
๑.๑ สระแท้ฐานเดียว ได้แก่ สระแท้ที่มีเสียงเปล่งออกมากระทบฐานใดฐานหนึ่งในปากเพียงฐานเดียว มี ๘ เสียง คือ

สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
ลมกระทบฐาน
อะ
อา
คอ
อิ
อี
เพดาน
อึ
อื
ปุ่มเหงือกหรือฟัน
อุ
อู
ริมฝีปาก

๑.๒ สระแท้สองฐาน ได้แก่ สระแท้ที่เสียงเปล่งออกมากระทบสองฐานพร้อมกันมี ๑๐ เสียง คือ

สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
ลมกระทบฐาน
เอะ
เอ
คอกับเพดาน
แอะ
แอ
คอกับเพดาน
โอะ
โอ
คอกับริมฝีปาก
เอาะ
ออ
คอกับริมฝีปาก
เออะ
เออ
คอกับปุ่มเหงือกหรือฟัน

๒. สระประสม หรือสระเลื่อน คือการประสมเสียงสระแท้ ๒ เสียงเข้าด้วยกัน มี ๖ เสียง คือ
สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
เอียะ (อิ+อะ)
เอีย (อี+อา)
เอือะ (อึ+อะ)
เอือ (อื+อา)
อัวะ (อุ+อะ)
อัว (อู+อา)
ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์ ถือว่าสระประสมมีเพียง ๓ หน่วย คือ เอีย เอือ อัว เพราะไม่มีคู่เทียบเสียงระหว่างเสียงสั้นและเสียงยาว แต่แบ่งหน่วยเสียงย่อย คือ เสียงย่อยสั้น และเสียงย่อยยาว เนื่องจาก สระเอียะ ที่ไม่มีตัวสะกด ที่พบในภาษาไทย มีเพียงคำว่า เดียะ เพียะ เปี๊ยะ (พิณ) เผียะ สระอัวะ ที่ไม่มีตัวสะกด ในคำว่า ผัวะ พัวะ สระเอือที่ไม่มีตัวสะกด ไม่มีที่ใช้ ดังนั้น สระประสมเสียงสั้น ส่วนใหญ่ก็อาศัยรูป เอีย เอือ อัว เช่น เรียก เสือก พวก ใช้รูปสระเสียงยาว แต่ออกเสียงสั้นเป็น เอียะ เอือะ อัวะ
๓. สระเกิน ได้แก่ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระแท้แต่มีเสียงพยัญชนะผสมอยู่ด้วยมี ๘ เสียง คือ
สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
อำ (อะ+ม)
-
ใอ (อะ+ย)
-
ไอ (อะ+ย)
-
เอา (อะ+ว)
-
ฤ (ร+อึ)
ฤา (ร+อือ)
ฦ (ล+อึ)
ฦา (ล+อื)
ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์ ไม่นับสะเกินเป็นเสียงสระ เพราะมีเสียงพยัญชนะผสมอยู่ คือ อำ มีตัว ม, ใอ มีตัว ย, ไอ มีตัว ย , เอา มีตัว ว , ฤ ฤา มีตัว ร , ฦ ฦา มีตัว ล
เสียงพยัญชนะ
ลักษณะและหน้าที่ของเสียงแปร หรือเสียงพยัญชนะ
๑. เป็นเสียงที่เกิดจากลม บริเวณเส้นเสียง ผ่านมาทางช่องระหว่างเส้นเสียง แล้วกระทบอวัยวะต่างๆ ในช่องปาก ที่เรียกว่าฐานกรณ์ เช่น ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟันกับปุ่มเหงือก
๒. พยัญชนะไม่สามารถออกเสียงตามลำพังได้ ต้องอาศัยเสียงสระช่วย จึงจะสามารถออกเสียงได้ เช่น ใช้ สระออ ออกเสียง กอ ขอ คอ งอ
๓. เสียงพยัญชนะสามารถปรากฏที่ต้นคำ โดยนำหน้าเสียงสระ เรียกว่า พยัญชนะต้น และปรากฏหลังคำ โดยอยู่หลังเสียงสระ เรียกว่าพยัญชนะสะกด
เสียงพยัญชนะต้น

พยัญชนะต้นแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. พยัญชนะเดี่ยวมี ๔๔ รูป แบ่งตามฐานกำเนิดเสียง ดังนี้
เกิดฐานคอ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง ห อ ฮ
เกิดฐานเพดาน จ ฉ ช ซ ฌ ญ ย
เกิดฐานปุ่มเหงือก ด ต ถ ท ธ น ล ส
เกิดฐานริมฝีปาก บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ว
๒. พยัญชนะประสม คือพยัญชนะ ๒ ตัวที่ประสมกับสระตัวเดียวกันแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
๒.๑ อักษรควบ คือพยัญชนะซึ่งควบกับ ร ล ว และประสมสระเดียวกันแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
๒.๑.๑ อักษรควบแท้ คือ อักษรควบซึ่งออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ากับพยัญชนะตัวหลัง ควบ
กล้ำพร้อมกันสนิทจนเกืบเป็นสียงเดียวกัน มีทั้งสิ้น ๑๕ รูป ได้แก่ กร กล กว คร ขร คล ขล คว ขว ตร ปร ปล พร พล ผล
หมายเหตุ ทร ที่ใช้เป็นตัวควบ ในภาษาไทยแท้ จะเป็นอักษรควบไม่แท้ ส่วนคำที่ออกเสียงควบแท้มักมาจากภาษาสันสกฤต เช่น อินทรา จันทรา
อนึ่ง ตัวอักษรควบแท้ที่ไทยไม่มีใช้ แต่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอังกฤษ และนำมาใช้มี ๖ เสียง คือ
บร เช่น เบรก บรั่นดี บรอนซ์
บล เช่น เบลม บลู บล็อก
ดร เช่น ดรัมเมเยอร์ ดรีม ดราฟต์
ฟร เช่น ฟรายด์ ฟรี ฟรักโทส
ฟล เช่น ฟลูออรีน แฟลต ฟลุก ฟลุต
ทร เช่น แทร็กเตอร์ ทรัมเป็ต


๒.๑.๒ อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
๒.๒ อักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมเดียวกันเช่นเดียวกับอักษรควบกล้ำ แต่ต่างกัน ตรงที่วิธีการออกเสียง อักษรนำมีวิธีการออกเสียงดังนี้
๒.๒.๑ ไม่ออกเสียงตัวนำ ออกเสียงกลืนกับเสียงตัวนำ ได้แก่
อ นำ ย มีอยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว ได้แก่ ง ญ น ม ย ร ล ว จะออกเสียงเพียงพยางค์เดียวสูงตามเสียง ห เช่น หงาย หงอน หญ้า ใหญ่ หน้า หนู หมา หย่า แหย่ หรูหรา หรอก ไหล หลาน หวาน แหวน
๒.๒.๒ ออกเสียงตัวนำ ได้แก่
ก. อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว จะออกเสียงพยางค์ต้นเป็น สระอะ ครึ่งเสียง ออกเสียงพยางค์หลังตามที่ประสมอยู่ ออกเสียงวรรณยุกต์ผันตามตัวหน้า เช่น ขนม ขนง เขนย ขนำ สมอง สมาน สนอง สยาย ขยับ ขยัน ฝรั่ง ถลอก เถลิง ผวา ผยอง ถนน สนน สนิท
* ยกเว้น ขมา ขโมย ขมำ สมา สมาคม สมิทธิ สโมสร สลัม ไม่ออกเสียงตามตัวนำ
ข. อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว ออกเสียงเช่นเดียวกับข้อ ก เช่น ตนุ โตนด จมูก ตลาด ตลก ตลอด จรวด ปรอท
ค. อักษรสูงนำอักษรต่ำคู่ หรืออักษรกลาง ออกเสียงตามข้อ ก แต่ไม่ต้องผันวรรณยุกต์ตามอักษรนำ เช่น ไผท ผดุง เผด็จ ผกา เถกิง ผกา เผอิญ เผชิญ เผชิญ
ข้อสังเกต
๑. เสียง /ร/ ไม่เหมือน เสียง เสียง /ล/
๒. ๑ เสียง มีหลายรูป ได้แก่
เสียง /ค/ แทน ข ฃ ค ฅ ฆ
เสียง /ช/ แทน ช ฉ
เสียง /ซ/ แทน ซ ส ศ ษ
เสียง /ด/ แทน ด ฎ
เสียง /ต/ แทน ต ฏ
เสียง /ท/ แทน ท ธ
เสียง /น/ แทน น ณ
เสียง /พ/ แทน พ ภ
เสียง /ฟ/ แทน ฝ ฟ
เสียง /ย/ แทน ย ญ
เสียง /ฮ/ แทน ห ฮ
๓. เสียง/ฤ/ ออกเสียง/ร/
๔. ฑ ออกเสียงได้ 2 เสียง คือ /ด/ /ท/


เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์
ภาษาไทยมีตัวสะกด 9 มาตรา คือ กก กด กบ กม กน เกย เกอว ก. กา
เมื่อเขียนเสียงแทนแม่ตัวสะกดแต่ละมาตรา จะได้
กก = /ก/ กม = /ม/ เกย = /ย/ กบ = /บ/
กด = /ด/ กน = /น/ กง = /ง/ เกอว = /ว/
ข้อสังเกต อำ ไอ เอา มีเสียงตัวสะกดด้วย

เสียงวรรณยุกต์
ลักษณะของเสียงดนตรี หรือเสียงวรรณยุกต์
๑. เป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูงต่ำ เหมือนเสียงดนตรี
๒. เสียงวรรณยุกต์ ทำให้คำมีความหมายแตกต่างกันไป เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ
๓. เสียงวรรณยุกต์มี ๔ รูป คือ
รูปของวรรณยุกต์

ไม้เอก
ไม้โท
ไม้ตรี
ไม้จัตวา
และมี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา

อักษร ๓ หมู่ (ไตรยางค์)
เสียง สามัญ
เสียง
เอก
เสียง
โท
เสียง
ตรี
เสียงจัตวา
หมายเหตุ
อักษรกลาง (๙ ตัว)ก จ ด ฎ ต ฏ บ ป อ คำเป็นคำตาย
ปา
ป่ากัด
ป้ากั้ด
ป๊ากั๊ด
ป๋ากั๋ด
คำเป็นพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก
อักษรสูง (๑๑ ตัว)ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส หคำเป็นคำตาย
--
ข่าขะ
ข้าข้ะ
--
ขา-
คำเป็นพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวาคำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก
อักษรต่ำ(อักษรที่เหลือ ๒๔ ตัว)
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ คำเป็น คำตายเสียงสั้นคำตายเสียงยาว
คา--
---

ค่าค่ะ
คาด

ค้าคะ
ค้าด

-ค๋ะ
ค๋าด
คำเป็นพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ หากผันร่วมกับอักษรสูงจะผันได้ครบ ๕ เสียง เช่นคา ข่า ค่า(ข้า) ค้า ขา

http://www.st.ac.th/bhatips/gramma1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น